วันอังคารที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2559
คอมพิวเตอร์กราฟิก
ความหมายของคอมพิวเตอร์กราฟิก
บทนำ
ปัจจุบันคอมพิวเตอร์กราฟิกเข้ามามีบทบาทกับงานด้านต่าง ๆ เป็นอย่างมากมีการนำคอมพิวเตอร์กราฟิก มาสร้างสรรค์เป็นผลงาน ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบภาพ และการปรับแต่งสีภาพ มีการนำคอมพิวเตอร์กราฟิก ไปใช้กับงานด้านต่างๆ อาทิเช่น งานสิ่งพิมพ์ งานโฆษณา งานออกแบบ งานนำเสนอข้อมูล งานสร้างภาพการ์ตูน งานสร้างสื่อการเรียนการสอน เป็นต้น โดยภาพกราฟิกจะทำให้งานที่ได้มีความสวยงามและน่าสนใจยิ่งขึ้น การศึกษา และ ทำความเข้าใจ เกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นของคอมพิวเตอร์กราฟิก จัดว่าเป็นพื้นฐานสำคัญเพื่อช่วยให้การออกแบบ หรือการตกแต่งภาพกราฟิกมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ความหมายของกราฟิกและคอมพิวเตอร์กราฟิก
กราฟิก หมายถึง ศิลปะหรือศาสตร์แขนงหนึ่ง ที่สื่อความหมายโดยใช้เส้น ภาพเขียน สัญลักษณ์ ภาพถ่าย ซึ่งมีลักษณะเห็นได้ชัดเจน เข้าใจความหมายได้ทันที และถูกต้องตรงตามที่ผู้ใช้ต้องการ
คอมพิวเตอร์กราฟิก หมายถึง การสร้างและการจัดการภาพกราฟิก โดย ใช้ คอมพิวเตอร์ การใช้คอมพิวเตอร์สร้างภาพ การตกแต่งแก้ไขภาพ หรือการจัดการเกี่ยวกับภาพ เช่น ภาพยนตร์ วิดีทัศน์ การตกแต่งภาพถ่าย การสร้างภาพตามจินตนาการ และการใช้ภาพกราฟิกในการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายให้ชัดเจนและทำความเข้าใจได้ง่ายกว่าเดิม เช่น การนำเสนอข้อมูลด้วยแผนภาพหรือกราฟ แทนที่จะเป็นตารางของตัวเลข ซึ่งในปัจจุบันมีการใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกกับงานหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นงานด้านการศึกษา งานด้านธุรกิจ งานด้านการออกแบบ งานด้านบันเทิง หรืองานด้านการแพทย์ เป็นต้น
คอมพิวเตอร์กราฟิก หมายถึง การสร้างและการจัดการภาพกราฟิก โดย ใช้ คอมพิวเตอร์ การใช้คอมพิวเตอร์สร้างภาพ การตกแต่งแก้ไขภาพ หรือการจัดการเกี่ยวกับภาพ เช่น ภาพยนตร์ วิดีทัศน์ การตกแต่งภาพถ่าย การสร้างภาพตามจินตนาการ และการใช้ภาพกราฟิกในการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายให้ชัดเจนและทำความเข้าใจได้ง่ายกว่าเดิม เช่น การนำเสนอข้อมูลด้วยแผนภาพหรือกราฟ แทนที่จะเป็นตารางของตัวเลข ซึ่งในปัจจุบันมีการใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกกับงานหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นงานด้านการศึกษา งานด้านธุรกิจ งานด้านการออกแบบ งานด้านบันเทิง หรืองานด้านการแพทย์ เป็นต้น
1.2 หลักการทำงานของภาพกราฟิก
หลักการทำงานของภาพกราฟิก แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่
1.2.1 ภาพกราฟิกแบบราสเตอร์ (Raster)
ภาพกราฟิกแบบราสเตอร์ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บิตแมพ (Bitmap) เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการเรียงตัวของจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ที่เรียกว่า พิกเซล (Pixel) มีการเก็บค่าสีที่เจาะจงในแต่ละตำแหน่งจนเกิดเป็นภาพในลักษณะต่าง ๆเช่น ภาพถ่าย
ดังนั้นภาพแบบราสเตอร์มี
ข้อดี คือ เหมาะสำหรับภาพที่ต้องการสร้างสีหรือกำหนดสีที่ต้องการความละเอียดและสวยงามน
ข้อเสีย คือ หากมีการขยายขนาดภาพซึ่งจะเป็นการเพิ่มจำนวนจุดสีให้กับภาพ ส่งผลให้คุณภาพของภาพนั้นสูญเสียไปความละเอียดของภาพจะลดลงมองเห็นภาพเป็นแบบ จุดสีชัดเจนขึ้นไฟล์ภาพจะมีขนาดใหญ่และใช้เนื้อที่ในการจัดเก็บมากตามไปด้วย โปรแกรมที่นิยมใช้ในการสร้างภาพแบบราสเตอร์ ได้แก่ โปรแกรม Paintbrush โปรแกรม Adobe Photoshop เป็นต้น
หลักการทำงานของภาพกราฟิก แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่
1.2.1 ภาพกราฟิกแบบราสเตอร์ (Raster)
ภาพกราฟิกแบบราสเตอร์ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บิตแมพ (Bitmap) เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการเรียงตัวของจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ที่เรียกว่า พิกเซล (Pixel) มีการเก็บค่าสีที่เจาะจงในแต่ละตำแหน่งจนเกิดเป็นภาพในลักษณะต่าง ๆเช่น ภาพถ่าย
ดังนั้นภาพแบบราสเตอร์มี
ข้อดี คือ เหมาะสำหรับภาพที่ต้องการสร้างสีหรือกำหนดสีที่ต้องการความละเอียดและสวยงามน
ข้อเสีย คือ หากมีการขยายขนาดภาพซึ่งจะเป็นการเพิ่มจำนวนจุดสีให้กับภาพ ส่งผลให้คุณภาพของภาพนั้นสูญเสียไปความละเอียดของภาพจะลดลงมองเห็นภาพเป็นแบบ จุดสีชัดเจนขึ้นไฟล์ภาพจะมีขนาดใหญ่และใช้เนื้อที่ในการจัดเก็บมากตามไปด้วย โปรแกรมที่นิยมใช้ในการสร้างภาพแบบราสเตอร์ ได้แก่ โปรแกรม Paintbrush โปรแกรม Adobe Photoshop เป็นต้น
1.2.2 ภาพกราฟิกแบบเวคเตอร์ (Vector)
ภาพกราฟิกแบบเวคเตอร์ เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการประมวลผลโดยอาศัยหลักการคำนวณทางคณิตศาสตร์ มีสีและตำแหน่งที่แน่นอน ภาพจะมีความเป็นอิสระต่อกัน โดยแยกชิ้นส่วนของภาพทั้งหมดออกเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง หรือรูปทรง เมื่อมีการขยายภาพความละเอียดของภาพ จะไม่ลดลง เช่น ภาพการ์ตูนเมื่อถูกขยายภาพออกมา ภาพที่ได้ก็จะยังคงรายละเอียดและความชัดเจนไว้เหมือนเดิม และขนาดของไฟล์ภาพจะมีขนาดเล็กกว่าภาพแบบราสเตอร์ โปรแกรมที่นิยมใช้สร้างภาพแบบเวคเตอร์ ได้แก่ โปรแกรม Illustrator โปรแกรม CorelDraw เป็นต้น
1.3 ประเภทของภาพกราฟิก
ประเภทของภาพกราฟิก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1.3.1 ภาพกราฟิกประเภท 2 มิติ
เป็นภาพกราฟิกที่มีแต่ความกว้างและความยาว แต่จะไม่มีความหนาหรือความลึก ได้แก่ ภาพสามเหลี่ยม ภาพสี่เหลี่ยม ภาพถ่าย ภาพลายเส้น ภาพวาด เป็นต้น โดยทั่วไปเรียกภาพกราฟิกประเภท 2 มิติว่า ภาพร่าง
ประเภทของภาพกราฟิก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1.3.1 ภาพกราฟิกประเภท 2 มิติ
เป็นภาพกราฟิกที่มีแต่ความกว้างและความยาว แต่จะไม่มีความหนาหรือความลึก ได้แก่ ภาพสามเหลี่ยม ภาพสี่เหลี่ยม ภาพถ่าย ภาพลายเส้น ภาพวาด เป็นต้น โดยทั่วไปเรียกภาพกราฟิกประเภท 2 มิติว่า ภาพร่าง
1.3.2 ภาพกราฟิกประเภท 3 มิติ
เป็นภาพที่เกิดจากการใช้โปรแกรมสร้างภาพ 3 มิติ ภาพที่ได้จะมีลักษณะเหมือนภาพที่มองจากตาคน โดยภาพกราฟิกประเภท 3 มิติจะมีส่วนโค้ง เว้า มุม แสง ความลึก
และรายละเอียดที่สูงขึ้นจากภาพกราฟิกประเภท 2 มิติ มีลักษณะการมองภาพที่เหมือนจริง
เป็นภาพที่เกิดจากการใช้โปรแกรมสร้างภาพ 3 มิติ ภาพที่ได้จะมีลักษณะเหมือนภาพที่มองจากตาคน โดยภาพกราฟิกประเภท 3 มิติจะมีส่วนโค้ง เว้า มุม แสง ความลึก
และรายละเอียดที่สูงขึ้นจากภาพกราฟิกประเภท 2 มิติ มีลักษณะการมองภาพที่เหมือนจริง
1.3.3 ความแตกต่างของภาพกราฟิก 2 มิติแบบราสเตอร์และแบบเวคเตอร์
ภาพกราฟิก 2 มิติแบบราสเตอร์และเวคเตอร์มีความแตกต่าง ดังแสดงในตารางที่ 1.1
ภาพกราฟิก 2 มิติแบบราสเตอร์
|
ภาพกราฟิก 2 มิติแบบเวคเตอร์
|
1. เกิดจากการเรียงตัวของจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ที่เรียกว่าพิกเซล (Pixel) โดยจะเก็บค่าสีที่เจาะจงในแต่ละตำแหน่งจนเกิดเป็นภาพในลักษณะ ต่าง ๆ
|
1. เป็นการประมวลผลโดยอาศัยการคำนวณทางคณิตศาสตร์ มีสีและตำแหน่งของสีที่แน่นอนภาพจะมีความเป็นอิสระต่อกัน
|
2. การขยายภาพจะมีการเพิ่มจำนวนจุดของภาพ ทำให้ความละเอียดลดลง มองเห็นภาพเป็นแบบจุด คุณภาพของภาพนั้นสูญเสียไป
|
2. เมื่อมีการขยายภาพความละเอียดของภาพจะไม่ลดลง ยังคงรายละเอียดและความชัดเจนของภาพไว้เหมือนเดิม
|
3.การตกแต่งและแก้ไขภาพสามารถทำได้ง่ายและสวยงาม มีความเหมือนจริง เช่น การลบรอยตำหนิบนภาพเพื่อให้ ภาพดูสวยงามขึ้น
|
3. นิยมใช้กับงานด้านสถาปัตยกรรมตกแต่งภายใน และงานด้านการออกแบบต่าง ๆ เช่น การออกแบบอาคารการออกแบบการ์ตูน
|
4. การประมวลผลภาพสามารถทำได้รวดเร็ว
|
4. การประมวลผลภาพใช้เวลานานเนื่องจากใช้คำสั่ง
ในการทำงาน |
1.4.2 ระบบสี CMYK1.4 ระบบสีที่ใช้กับภาพกราฟิก
โดยทั่วไปสีในธรรมชาติและสีที่สร้างขึ้น จะมีรูปแบบการมองเห็นของสีที่แตกต่างกัน ซึ่งรูปแบบการมองเห็นสีที่ใช้ในงานด้านกราฟิกทั่วไปนั้น มีอยู่ด้วยกัน 4 ระบบ ได้แก่
1. ระบบสี RGB ตามหลักการแสดงสีของเครื่องคอมพิวเตอร์
2. ระบบสี CMYK ตามหลักการแสดงสีของเครื่องพิมพ์
3. ระบบสี HSB ตามหลักการมองเห็นสีของสายตามนุษย์
4. ระบบสี LAB ตามหลักการแสดงสีที่ไม่ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ใด ๆ สามารถใช้กับสีที่เกิดจากอุปกรณ์
ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นจอคอมพิวเตอร์หรือเครื่องพิมพ์
1.4.1 ระบบสี RGB
ย่อมาจากคำว่า Red Green และ Blue เป็นระบบสีที่เกิดจากการรวมกันของแสงสีแดง
สีเขียว และสีน้ำเงิน เมื่อมีการใช้สัดส่วนของ 3 สีนี้ต่างกัน จะทำให้เกิดสีต่าง ๆ ได้อีกมากมายถึง 16.7 ล้านสี ซึ่งใกล้เคียงกับสีที่ตาเรามองเห็นปกติ โดยสีที่ได้จากการผสมสีขึ้นอยู่กับความเข้มของสี ถ้าหากสีมีความเข้มมากเมื่อนำมาผสมกันจะทำให้เกิดเป็นสีขาว จึงเรียกระบบสีนี้ว่า Additive หรือการผสมสีแบบบวกหลักการแสดงสีของจอคอมพิวเตอร์นั้นจะแสดงสีเป็นระบบ RGB อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเลือกโหมดการทำงานใดก็ตาม
ย่อมาจากคำว่า Cyan Magenta Yellow และ Black เป็นระบบสีมาตรฐานที่เหมาะกับงานพิมพ์ พิมพ์ออกทางกระดาษหรือวัสดุผิวเรียบอื่น ๆ โดยทำการแก้ไขจุดบกพร่องของระบบสี RGB ที่เครื่องพิมพ์ ไม่สามารถพิมพ์สีบางสีออกไปได้ ซึ่งประกอบด้วยสีหลัก 4 สี ได้แก่ สีฟ้า สีชมพูม่วง สีเหลือง และสีดำ เมื่อนำสีทั้งหมดมาผสมกันจะเกิดเป็นสีดำ จึงเรียกระบบสีนี้ว่า Subtractive Color หลักการเกิดสีของระบบ
นี้คือ หมึกสีหนึ่งจะดูดกลืนแสงจากสีหนึ่งและสะท้อนกลับออกมาเป็นสีต่าง ๆ
1.4.3 ระบบสี HSB
เป็นระบบสีแบบการมองเห็นของสายตามนุษย์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
Hue เป็นสีต่าง ๆ ที่สะท้อนออกมาจากวัตถุแล้วเข้าสู่สายตา ทำให้เราสามารถมองเห็นวัตถุเป็นสีต่าง ๆ ได้ ซึ่งแต่ละสีจะแตกต่างกันตามความยาวของคลื่นแสงที่มากระทบวัตถุและสะท้อนกลับมาที่สายตา ค่า Hue ถูกวัดโดยตำแหน่งการแสดงสีบนมาตรฐานวงล้อของสี (Standard Color Wheel) ซึ่งถูกแทนค่าสีด้วยองศา 0 ถึง 360 องศา แต่โดยทั่ว ๆ ไปแล้วมักจะเรียกการแสดงสีนั้น ๆ เป็นชื่อของสีเลย เช่น สีแดง สีม่วง สีเหลือง
Saturation เป็นการกำหนดค่าความสดของสี โดยค่าความสดของสีจะเริ่มที่ 0 ถึง 100 หากกำหนด Saturation เป็น 0สีจะมีความสดน้อย แต่ถ้ากำหนดที่ 100 สีจะมีความสดมากค่าสีจะถูกวัดโดยตำแหน่ง การแสดงสีบน Standard Color Wheelค่าของ Saturation จะเพิ่มขึ้นจากจุดกึ่งกลางจนถึงเส้นขอบโดยค่าที่ เส้นขอบจะมีสีที่ชัดเจนและอิ่มตัวที่สุดที่ 100
Brightness เป็นระดับความสว่างและความมืดของสี โดยค่าความสว่างของสีจะเริ่มที่ 0 ถึง 100 หาก กำหนดค่า 0 ความสว่างจะน้อยซึ่งจะเป็นสีดำ แต่ถ้ากำหนดค่า 100 สีจะมีความสว่างมากที่สุด
1.4.4 ระบบสี LAB
เป็นมาตรฐานสำหรับการวัดค่าแบบครอบคลุมทุกสีในระบบสี RGB และ CMYK สามารถใช้กับสีที่ เกิดจากอุปกรณ์ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นจอคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ สแกนเนอร์ รวมทั้งอุปกรณ์อื่น ๆ ส่วนประกอบของระบบสีนี้ ได้แก่
L (Luminance) เป็นค่าความสว่าง จะมีค่าตั้งแต่ 0 (สีดำ) ไปจนถึงค่า 100 (สีขาว)
A แสดงการไล่สีจากสีเขียวไปยังสีแดง
B แสดงการไล่สีจากสีน้ำเงินไปยังสีเหลือง
1.5 ประเภทของไฟล์ภาพกราฟิก
การสร้างภาพกราฟิกหรือการตกแต่งภาพกราฟิกประเภทของไฟล์ภาพกราฟิกเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มี ความสำคัญ เพราะความละเอียดของไฟล์ภาพจะส่งผลกับขนาดของภาพ เช่น ภาพที่นำมาใช้งาน บนเว็บเพจควรจะต้องมีขนาดเล็ก เพื่อนำไปเรียกใช้งานบนเว็บเพจได้อย่างรวดเร็ว ประเภทของไฟล์ภาพกราฟิกที่นิยมใช้โดยทั่วไป ได้แก
่
1.5.1 JPEG หรือ JPG (Join Photographic Export Group)
เป็นรูปแบบไฟล์ที่เก็บภาพแบบราสเตอร์ที่ไม่ต้องการคุณภาพสูงมากนัก เช่น ภาพถ่ายจากกล้องดิจิตอล ภาพถ่ายจากโทรศัพท์มือถือและภาพกราฟิกสำหรับแสดงบนอินเทอร์เน็ต สามารถแสดงสีได้ถึง 16.7 ล้านสี เป็นไฟล์ภาพชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยม เพราะไฟล์มีขนาดเล็กสามารถบีบอัดข้อมูลได้หลายระดับ
จุดเด่น
1. สนับสนุนสีได้ถึง 24 bit
2. แสดงสีได้ถึง 16.7 ล้านสี
3. สามารถกำหนดค่าการบีบอัดไฟล์ได้ตามที่ต้องการ
4. มีระบบแสดงผลแบบหยาบและค่อย ๆ ขยายไปสู่ละเอียดในระบบโพรเกรสซีฟ (Progressive)
5. มีโปรแกรมสนับสนุนการสร้างจำนวนมาก
6. เรียกดูได้กับบราวเซอร์ (Browser) ทุกตัว
จุดด้อย
1. ไม่สามารถทำภาพให้มีพื้นหลังแบบโปร่งใส (Transparent) ได้
2. ทำภาพเคลื่อนไหว (Animation) ไม่ได้
การสร้างภาพกราฟิกหรือการตกแต่งภาพกราฟิกประเภทของไฟล์ภาพกราฟิกเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มี ความสำคัญ เพราะความละเอียดของไฟล์ภาพจะส่งผลกับขนาดของภาพ เช่น ภาพที่นำมาใช้งาน บนเว็บเพจควรจะต้องมีขนาดเล็ก เพื่อนำไปเรียกใช้งานบนเว็บเพจได้อย่างรวดเร็ว ประเภทของไฟล์ภาพกราฟิกที่นิยมใช้โดยทั่วไป ได้แก
่
1.5.1 JPEG หรือ JPG (Join Photographic Export Group)
เป็นรูปแบบไฟล์ที่เก็บภาพแบบราสเตอร์ที่ไม่ต้องการคุณภาพสูงมากนัก เช่น ภาพถ่ายจากกล้องดิจิตอล ภาพถ่ายจากโทรศัพท์มือถือและภาพกราฟิกสำหรับแสดงบนอินเทอร์เน็ต สามารถแสดงสีได้ถึง 16.7 ล้านสี เป็นไฟล์ภาพชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยม เพราะไฟล์มีขนาดเล็กสามารถบีบอัดข้อมูลได้หลายระดับ
จุดเด่น
1. สนับสนุนสีได้ถึง 24 bit
2. แสดงสีได้ถึง 16.7 ล้านสี
3. สามารถกำหนดค่าการบีบอัดไฟล์ได้ตามที่ต้องการ
4. มีระบบแสดงผลแบบหยาบและค่อย ๆ ขยายไปสู่ละเอียดในระบบโพรเกรสซีฟ (Progressive)
5. มีโปรแกรมสนับสนุนการสร้างจำนวนมาก
6. เรียกดูได้กับบราวเซอร์ (Browser) ทุกตัว
จุดด้อย
1. ไม่สามารถทำภาพให้มีพื้นหลังแบบโปร่งใส (Transparent) ได้
2. ทำภาพเคลื่อนไหว (Animation) ไม่ได้
1.5.2 GIF (Graphic Interchange Format)
เป็นไฟล์ภาพที่สามารถบีบอัดข้อมูลให้มีขนาดเล็กได้ส่วนมากจะนำไปใช้บันทึกเป็นไฟล์ภาพ เคลื่อนไหวและนิยมมากในการใช้งานบนเว็บเพจ
จุดเด่น
1. สามารถใช้งานข้ามระบบไม่ว่าจะเป็นระบบปฏิบัติการวินโดวส์ (Windows) หรือระบบปฏิบัติการ
ยูนิกซ์ (Unix) ก็สามารถเรียกใช้ไฟล์ภาพสกุลนี้ได้
2. ภาพมีขนาดไฟล์ต่ำ จากเทคโนโลยีการบีบอัดภาพทำให้สามารถส่งไฟล์ภาพได้อย่างรวดเร็ว
3. สามารถทำภาพพื้นหลังแบบโปร่งใสได้
4. มีโปรแกรมสนับสนุนการสร้างจำนวนมาก
5. เรียกดูได้กับบราวเซอร์ทุกตัว
6. สามารถนำเสนอแบบภาพเคลื่อนไหวได้
จุดด้อย
1. แสดงสีได้เพียง 256 สี
2. ไม่เหมาะกับภาพที่ต้องการความคมชัดหรือความสดใส
เป็นไฟล์ภาพที่สามารถบีบอัดข้อมูลให้มีขนาดเล็กได้ส่วนมากจะนำไปใช้บันทึกเป็นไฟล์ภาพ เคลื่อนไหวและนิยมมากในการใช้งานบนเว็บเพจ
จุดเด่น
1. สามารถใช้งานข้ามระบบไม่ว่าจะเป็นระบบปฏิบัติการวินโดวส์ (Windows) หรือระบบปฏิบัติการ
ยูนิกซ์ (Unix) ก็สามารถเรียกใช้ไฟล์ภาพสกุลนี้ได้
2. ภาพมีขนาดไฟล์ต่ำ จากเทคโนโลยีการบีบอัดภาพทำให้สามารถส่งไฟล์ภาพได้อย่างรวดเร็ว
3. สามารถทำภาพพื้นหลังแบบโปร่งใสได้
4. มีโปรแกรมสนับสนุนการสร้างจำนวนมาก
5. เรียกดูได้กับบราวเซอร์ทุกตัว
6. สามารถนำเสนอแบบภาพเคลื่อนไหวได้
จุดด้อย
1. แสดงสีได้เพียง 256 สี
2. ไม่เหมาะกับภาพที่ต้องการความคมชัดหรือความสดใส
1.5.3 PNG (Portable Network Graphics)
เป็นชนิดของไฟล์ภาพที่นำจุดเด่นของไฟล์ภาพแบบ GIF และแบบ JPG มาพัฒนาร่วมกัน ทำให้ไฟล์ภาพชนิดนี้แสดงสีได้มากกว่า 256 สี และยังสามารถทำพื้นหลังภาพให้โปร่งใสได้ จึงเป็นไฟล์ภาพที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน
จุดเด่น
1. สนับสนุนสีได้ตามค่า True color (16 bit, 32 bit หรือ 64 bit)
2. สามารถกำหนดค่าการบีบอัดไฟล์ได้ตามที่ต้องการ
3. ทำภาพพื้นหลังแบบโปร่งใสได้
จุดด้อย
1. หากกำหนดค่าการบีบอัดไฟล์ไว้สูงจะใช้เวลาในการคลายไฟล์ภาพสูงตามไปด้วย
2. ไม่สนับสนุนกับบราวเซอร์รุ่นเก่า
3. โปรแกรมสนับสนุนในการสร้างมีน้อย
1.5.4 BMP (Bitmap)
เป็นรูปแบบของไฟล์ภาพมาตรฐานที่ใช้ได้ในระบบปฏิบัติการวินโดวส์โดยมีลักษณะการจัดเก็บ ไฟล์ภาพเป็นจุดสีทีละจุดจึงทำให้ภาพดูเสมือนจริง
จุดเด่น
1. แสดงรายละเอียดสีได้ 24 บิต
2. ไม่มีการสูญเสียข้อมูลใด ๆ เมื่อมีการย่อหรือขยายภาพ
3. นำไปใช้งานได้กับทุกโปรแกรมในระบบปฏิบัติการวินโดวส์
จุดด้อย
1. ภาพมีขนาดใหญ่มากจึงใช้เนื้อที่ในการจัดเก็บค่อนข้างมาก
2. ความละเอียดของภาพอาจจะไม่ชัดเจนเหมือนต้นฉบับ
1.5.5 TIF หรือ TIFF (Tagged Image File)
เป็นไฟล์ที่ใช้เก็บภาพแบบราสเตอร์คุณภาพสูง เช่น ภาพกราฟิกที่นำไปทำงานด้านสิ่งพิมพ์ (Artwork) สามารถเก็บข้อมูลของภาพไว้ได้ครบถ้วน ทำให้คุณภาพของสีเหมือนต้นฉบับ
จุดเด่น
1. สามารถใช้งานข้ามระบบ ไม่ว่าจะเป็นระบบปฏิบัติการวินโดวส์หรือระบบปฏิบัติการยูนิกซ์
ก็สามารถเรียกใช้ไฟล์ภาพชนิดนี้ได้
2. แสดงรายละเอียดสีได้ 48 บิต
3. ไฟล์มีความยืดหยุ่นสูง สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้
4. เมื่อมีการบีบอัดไฟล์จะมีการสูญเสียข้อมูลน้อยมาก
5. มีโปรแกรมสนับสนุนการสร้างจำนวนมาก
จุดด้อย
1. ไฟล์ภาพมีขนาดค่อนข้างใหญ่
2. ใช้พื้นที่ในการจัดเก็บไฟล์ภาพสูง
1.5.6 PSD (Photoshop Document)
เป็นไฟล์ภาพเฉพาะโปรแกรม Adobe Photoshop จะทำการบันทึกแบบแยกเลเยอร์ (Layer)
โดยเก็บประวัติการทำงานและรายละเอียดการตกแต่งภาพ เอาไว้ เพื่อง่ายต่อการแก้ไขในภายหลัง
จุดเด่น
1. มีการบันทึกแบบแยกเลเยอร์และเก็บประวัติการทำงานทุกขั้นตอน
2. สามารถนำไฟล์ภาพมาแก้ไขได้ในภายหลัง
จุดด้อย
1. ไฟล์ภาพมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับไฟล์ภาพประเภทอื่น
2. ไม่สามารถเปิดใช้งานในโปรแกรมอื่นได้
เป็นชนิดของไฟล์ภาพที่นำจุดเด่นของไฟล์ภาพแบบ GIF และแบบ JPG มาพัฒนาร่วมกัน ทำให้ไฟล์ภาพชนิดนี้แสดงสีได้มากกว่า 256 สี และยังสามารถทำพื้นหลังภาพให้โปร่งใสได้ จึงเป็นไฟล์ภาพที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน
จุดเด่น
1. สนับสนุนสีได้ตามค่า True color (16 bit, 32 bit หรือ 64 bit)
2. สามารถกำหนดค่าการบีบอัดไฟล์ได้ตามที่ต้องการ
3. ทำภาพพื้นหลังแบบโปร่งใสได้
จุดด้อย
1. หากกำหนดค่าการบีบอัดไฟล์ไว้สูงจะใช้เวลาในการคลายไฟล์ภาพสูงตามไปด้วย
2. ไม่สนับสนุนกับบราวเซอร์รุ่นเก่า
3. โปรแกรมสนับสนุนในการสร้างมีน้อย
1.5.4 BMP (Bitmap)
เป็นรูปแบบของไฟล์ภาพมาตรฐานที่ใช้ได้ในระบบปฏิบัติการวินโดวส์โดยมีลักษณะการจัดเก็บ ไฟล์ภาพเป็นจุดสีทีละจุดจึงทำให้ภาพดูเสมือนจริง
จุดเด่น
1. แสดงรายละเอียดสีได้ 24 บิต
2. ไม่มีการสูญเสียข้อมูลใด ๆ เมื่อมีการย่อหรือขยายภาพ
3. นำไปใช้งานได้กับทุกโปรแกรมในระบบปฏิบัติการวินโดวส์
จุดด้อย
1. ภาพมีขนาดใหญ่มากจึงใช้เนื้อที่ในการจัดเก็บค่อนข้างมาก
2. ความละเอียดของภาพอาจจะไม่ชัดเจนเหมือนต้นฉบับ
1.5.5 TIF หรือ TIFF (Tagged Image File)
เป็นไฟล์ที่ใช้เก็บภาพแบบราสเตอร์คุณภาพสูง เช่น ภาพกราฟิกที่นำไปทำงานด้านสิ่งพิมพ์ (Artwork) สามารถเก็บข้อมูลของภาพไว้ได้ครบถ้วน ทำให้คุณภาพของสีเหมือนต้นฉบับ
จุดเด่น
1. สามารถใช้งานข้ามระบบ ไม่ว่าจะเป็นระบบปฏิบัติการวินโดวส์หรือระบบปฏิบัติการยูนิกซ์
ก็สามารถเรียกใช้ไฟล์ภาพชนิดนี้ได้
2. แสดงรายละเอียดสีได้ 48 บิต
3. ไฟล์มีความยืดหยุ่นสูง สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้
4. เมื่อมีการบีบอัดไฟล์จะมีการสูญเสียข้อมูลน้อยมาก
5. มีโปรแกรมสนับสนุนการสร้างจำนวนมาก
จุดด้อย
1. ไฟล์ภาพมีขนาดค่อนข้างใหญ่
2. ใช้พื้นที่ในการจัดเก็บไฟล์ภาพสูง
1.5.6 PSD (Photoshop Document)
เป็นไฟล์ภาพเฉพาะโปรแกรม Adobe Photoshop จะทำการบันทึกแบบแยกเลเยอร์ (Layer)
โดยเก็บประวัติการทำงานและรายละเอียดการตกแต่งภาพ เอาไว้ เพื่อง่ายต่อการแก้ไขในภายหลัง
จุดเด่น
1. มีการบันทึกแบบแยกเลเยอร์และเก็บประวัติการทำงานทุกขั้นตอน
2. สามารถนำไฟล์ภาพมาแก้ไขได้ในภายหลัง
จุดด้อย
1. ไฟล์ภาพมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับไฟล์ภาพประเภทอื่น
2. ไม่สามารถเปิดใช้งานในโปรแกรมอื่นได้
1.6 คอมพิวเตอร์กราฟิกกับการประยุกต์ใช้ในงานด้านต่าง ๆ
งานด้านกราฟิกมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและแพร่หลาย คอมพิวเตอร์กราฟิกกับการประยุกต์ ใช้ในงานด้านต่างๆ ได้แก่
1.6.1 คอมพิวเตอร์กราฟิกกับงานออกแบบ (Computer – Aided Design)
คอมพิวเตอร์กราฟิกได้เข้ามามีบทบาทกับงานด้านออกแบบในสาขาต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก เช่น การออกแบบรถยนต์ การออกแบบเครื่องจักร การออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบตกแต่งภายใน และการออกแบบเครื่องประดับ เป็นต้น
CAD (Computer – Aided Design) เป็นโปรแกรมช่วยในการออกแบบทางวิศวกรรม ซึ่งจะช่วยให้
ผู้ออกแบบ หรือวิศวกรออกแบบงานได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้นเมื่อต้องการแก้ไขก็สามารถทำได้ง่ายกว่า การทำงาน
ในกระดาษ สามารถออกแบบลักษณะลายเส้น ใส่สี แสงเงา เพื่อให้ดูคล้าย ของจริง สำหรับงานด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและ
อิเล็กทรอนิกส์ ได้ถูกนำมาใช้ในการออกแบบวงจรต่าง ๆ โดยใช้สัญลักษณ์ที่ระบบมีให้ แล้วทำการประกอบ เป็นวงจรที่ต้องการ ผู้ออกแบบสามารถแก้ไขตัดต่อ เพิ่มเติมวงจรได้ เช่น การออกแบบรถยนต์ เครื่องบิน หรือเครื่องจักรต่าง ๆ นักออกแบบจะใช้ CAD ออกแบบส่วนย่อย ๆ แต่ละส่วนก่อน แล้วจึงประกอบกันเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งบางระบบสามารถทดสอบแบบจำลองที่ออกแบบไว้ เช่น การออกแบบรถยนต์ แล้วนำโครงสร้างของรถที่ออกแบบมาจำลอง การวิ่ง แล้วเก็บผลมาตรวจสอบค่า หรือการออกแบบโครงสร้างตึก บ้าน สะพาน และสถาปัตยกรรม เพื่อแสดงภาพในมุมมองต่าง ๆ ตามที่ผู้ออกแบบต้องการ ตัวอย่างการใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกกับงาน ออกแบบโครงสร้างภาพคนงานด้านกราฟิกมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและแพร่หลาย คอมพิวเตอร์กราฟิกกับการประยุกต์ ใช้ในงานด้านต่างๆ ได้แก่
1.6.1 คอมพิวเตอร์กราฟิกกับงานออกแบบ (Computer – Aided Design)
คอมพิวเตอร์กราฟิกได้เข้ามามีบทบาทกับงานด้านออกแบบในสาขาต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก เช่น การออกแบบรถยนต์ การออกแบบเครื่องจักร การออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบตกแต่งภายใน และการออกแบบเครื่องประดับ เป็นต้น
CAD (Computer – Aided Design) เป็นโปรแกรมช่วยในการออกแบบทางวิศวกรรม ซึ่งจะช่วยให้
ผู้ออกแบบ หรือวิศวกรออกแบบงานได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้นเมื่อต้องการแก้ไขก็สามารถทำได้ง่ายกว่า การทำงาน
ในกระดาษ สามารถออกแบบลักษณะลายเส้น ใส่สี แสงเงา เพื่อให้ดูคล้าย ของจริง สำหรับงานด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและ
1.6.2 คอมพิวเตอร์กราฟิกกับงานนำเสนอ (Presentation)
ในการนำเสนอผลงานโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิก สามารถแสดงผลทางหน้าจอโปรเจคเตอร์ (Projector) หรือพิมพ์งานลงในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรม Microsoft Office PowerPoint ใช้สำหรับการนำเสนองาน การนำเสนอสินค้า ส่วนมากนิยมจัดทำเป็นรายงานในรูปแบบต่าง ๆ เช่น รายงานสรุปงบการเงิน รายงานข้อมูลลูกค้า เป็นต้น นิยมแสดงในรูปแบบของกราฟหรือรูปภาพ เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ
1.6.3 คอมพิวเตอร์กราฟิกกับงานบันเทิง (Entertainment)
คอมพิวเตอร์กราฟิกกับงานบันเทิง โดยเฉพาะงานด้านมัลติมีเดีย ได้รับความแพร่หลาย ในวงการบันเทิงเป็นอย่างมาก เช่น การโฆษณาสินค้าทางโทรทัศน์ รายการข่าว ละคร เกมออนไลน์ การสร้างภาพการ์ตูน การสร้างภาพเคลื่อนไหวการสร้างภาพวิดีโอ การสร้างฉากภาพยนตร์ เป็นต้น
1.6.4 คอมพิวเตอร์กราฟิกกับงานเว็บไซต์ (Web Site)
ได้มีการนำคอมพิวเตอร์กราฟิกมาใช้ในการจัดทำเว็บไซต์ เพื่อประชาสัมพันธ์หน่วยงานหรือองค์กรหรือเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ สู่สาธารณะ
1.6.5 คอมพิวเตอร์กราฟิกกับงานด้านการศึกษาและฝึกอบรม (Education and Training)
คอมพิวเตอร์กราฟิกเข้ามามีบทบาทกับวงการศึกษา และวงการฝึกอบรมอย่างแพร่หลาย ทำให้เกิดเครื่องมือ
สำหรับช่วยสอนต่าง ๆ มากมาย รวมทั้งเกิดสื่ออิเล็กทรอนิกส์ช่วยสอนในรูปแบบ ต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริม
การศึกษา เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนในลักษณะมัลติมีเดีย การเรียนการสอนบนเว็บ (e-Learning) ส่วนการนำ คอมพิวเตอร์กราฟิกในงานด้านการฝึกอบรม เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ในการฝึกอบรมที่เรียกว่า e-Training
ปัจจุบันมีการพัฒนาเว็บไซต์สำหรับฝึกอบรมของสถาบันฝึกอบรมหลายแห่ง
ตัวอย่างคอมพิวเตอร์กราฟิกกับงานด้านการศึกษา
สรุป
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิก เริ่มจากการทำความเข้าใจความหมายของกราฟิก ซึ่งเป็นศิลปะหรือศาสตร์แขนงหนึ่งที่สื่อความหมายโดยใช้เส้น ภาพเขียน ภาพถ่าย ภาพวาดหรือสัญลักษณ์ ส่วนความหมายของคอมพิวเตอร์กราฟิก เป็นการสร้างและการจัดการภาพกราฟิกโดยใช้คอมพิวเตอร์ หลักการทำงานของภาพกราฟิกแบบราสเตอร์ เกิดจากการเรียงตัวของจุดสี่เหลี่ยมที่เรียกว่า พิกเซล และภาพกราฟิกแบบเวคเตอร์ เกิดจากการประมวลผลโดยอาศัยหลักการคำนวณทางคณิตศาสตร์ ประเภทของภาพกราฟิกแบบ 2 มิติ จะมีแต่ความกว้างและความยาว ส่วนภาพกราฟิกแบบ 3 มิติประกอบไปด้วยส่วนโค้ง เว้า มุม แสงและความลึก ระบบสีที่ใช้กับภาพกราฟิก ได้แก่ RGB CMYK HSB และ LAB ประเภทของไฟล์ภาพกราฟิกที่ใช้สำหรับจัดเก็บภาพ จะมีผลกับขนาดของไฟล์ภาพ ตลอดจนปัจจุบันมีการประยุกต์คอมพิวเตอร์กราฟิกไปใช้กับงานด้านต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลาย เช่น งานบันเทิง งานการเรียนการสอนและการฝึกอบรม งานออกแบบงานเว็บไซต์ หรืองานนำเสนอข้อมูล เป็นต้น
ขอบคุณที่มา : http://www.rsc.ac.th/teacher/anchalee/cg/home.html
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)